เมนู

สติลักขณาปัญหา ที่ 12


ขณะนั้นพระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสถามด้วยลักษณะแห่งสติ
ต่อไปว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้า สตินี้เล่ามีลักษณะประการใด
พระนาคเสนวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ดูกรบพิตรพระราชสมภาร สติมีลักษณะ 2
ประการ คือ อปิลาปนลักขณะสติ 1 อุปคัณหณลักขณาสติ 1
สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลิทน์มีพระราชโองการซักถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาค
เสนผู้มีปัญญาปรีชา อปิลาปนลักขณาสตินั้นประการใด
พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า ดูกรบพิตรพระราชสมภาร อปิลาปนลักขณาสตินั้น คือ
อารมณ์ให้ระลึกไปในธรรมทั้งหลายคือ เตือนว่า สิ่งนั้นดีสิ่งนั้นชั่ว สิ่งนี้ไม่เป็นประโยชน์ สิ่งนี้
เป็นโทษ สิ่งนี้เป็นคุณ สิ่งนี้ขาวสิ่งนี้ดำ เตือนอารมณ์ให้ระลึกในธรรมทั้งหลายนี้ว่า ธรรมสิ่งนี้
เป็นสติปัฏฐาน 4 ธรรมสิ่งนี้เป็นสัมมัปปธาน 4 ธรรมสิ่งนี้เป็นอิทธิบาท 4 ธรรมสิ่งนี้เป็น
อินทรีย์ 5 ธรรมสิ่งนี้เป็นพละ 5 ธรรมสิ่งนี้โพชฌงค์ 7 ธรรมสิ่งนี้เป็นอัฏฐังคิกมรรค 8
ประการ ธรรมสิ่งนี้เป็นสมถกรรมฐาน ธรรมสิ่งนี้เป็นวิปัสสนากรรมฐาน ธรรมสิ่งนี้เป็นฌาน
เป็นสมาบัติ เป็นวิชชา เป็นวิมุตติ เป็นกองจิตกองเจตสิก เมื่อโยคาวจรได้อปิลาปนลักขณาสติ
เตือนอารมณ์ให้ระลึกถึงธรรมดังนี้ ก็มิได้ส้องเสพซึ่งธรรมอันมิควรจะส้องเสพ กลับส้องเสพซึ่ง
ธรรมควรจะส้องเสพดังนี้ ชื่ออปิลาปนลักขณาสติ ของถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสนิมนต์พระนาคเสนให้กระทำ
อุปมา
พระนาคเสนจึงเถรวาจาอุปมาถวายว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร
เปรียบปานดุจภัณฑาคาริกบุรุษผู้หนึ่งเป็นชาวคลังของบรมจักร ย่อมทูลบรมจักรตักเตือนให้
ระลึกถึงสมบัติทุกเช้าเย็น ทูลว่าเครื่องประดับช้างเท่านั้น ม้าเท่านั้น รถเท่านั้น พลเดินลำลอง
เท่านั้น ทองเท่านั้น เงินเท่านั้น ยถา มีครุวนาฉันใด อปลาปนลักขณาสตินี้ไซร้ อุปฺปชฺชมานา
เมื่อบังเกิดก็เตือนอารมณ์ให้ระลึกถึงปฏิภาคธรรมทั้งหลาย คือกุศลอกุศลบาปบุญคุณโทษ
เปรียบดุจสีขาวกับดำ และเตือนอารมณ์ให้ระลึกว่า ธรรมสิ่งนี้คือสติปัฏฐาน เป็นอาทิฉะนั้น ก็
ย่อมส้องเสพซึ่งธรรมอันควรจะเสพ อปิลาปนลักขณาสตินี้เตือนอารมณ์ให้ระลึกไปใน
เบื้องหน้าเบื้องหลัง เหมือนชาวคลังระลึกทูลเตือนบรมจอมจักรพรรดิให้ระลึกถึงสมบัตินั้น
ขอถวายพระพร


ขณะนั้นพระเจ้ามิลินท์ปิ่นสาคลนครก็เห็นสมควรด้วยอุปมาในกาลนั้น ราชา สมเด็จ
พระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองงการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เป็น
เจ้าผู้ปรีชา อันว่าอุปคัณหณลักขณาสตินั้น มีลักษณะเป็นประการใด
พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร อุปคัณ-
หณลักขณาสตินั้น อุปฺปชฺชมานา เมื่อจะบังเกิดในสันดานนี้ ชักชวนให้ถือเอาคติในธรรมอันดี
พระโยคาวจรเจ้าเมื่ออุปตัณหณลักขณาสติบังเกิดในสันดาน ย่อมพิจารณาว่า ธรรมสิ่งนี้มีอุปการ
ธรรมสิ่งนี้หาอุปการมิได้ ก็นำเสียซึ่งธรรมอันมิได้เป็นประโยชน์ถือเอาธรรมอันเป็นประโยชน์นำ
เสียซึ่งธรรมอันมิได้เป็นอุปการ ถือเอาแต่ธรรมอันเป็นอุปการ ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร
ผู้ประเสริฐ อุปคัณหณลักขณาสตินั้นมีลักษณะละเสียซึ่งสิ่งอันชั่ว ถือเอาแต่สิ่งอันดีดังนี้แหละ
ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นประชากร มีสุนทรพจนารถอาราธนาว่า นิมนต์พระผู้เป็น
เจ้าอุปมาให้แจ้งก่อน
พระนาคเสนถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร เปรียบปานดุจ
นายประตูของบรมกษัตริยาธิราชถ้าเห็นผู้ใดประหลาดเข้าไปสู่ประตูพระราชวังนั้น ก็ห้ามเสีย
มิให้เข้าไป ผู้ใดที่เป็นอุปการแก่บรมกษัตริย์เจ้า คือ ข้าเฝ้าผู้ใหญ่ผู้น้อยนั้นก็ปล่อยให้เข้าไปสู่
พระราชฐาน นายประตูเฝ้าพระทวารกำจัดเสียซึ่งคนอันใช่ข้าเฝ้า ถือเอาแต่ที่ข้าเฝ้าให้เข้าไปสู่
พระราชฐานนั้น ยถา มีครุวนาฉันใด อุปคัณหณลักขณาสตินั้น ถือเอาแต่ธรรมอันเป็นคุณ
เว้นเสียซึ่งธรรมอันมิได้เป็นคุณ ดุจนายประตูอันห้ามเสียซึ่งคนใช่ข้าเฝ้า ถือเอาแต่ข้าเฝ้าที่คุ้น
เคยให้เข้าไปสู่พระราชฐาน นี่แหละพระโยคาวจรเจ้ามีสติเป็นอุปคัณหณลักขณาสติเว้นเสียซึ่ง
สิ่งอันเป็นโทษถือเอาซึ่งธรรมอันเป็นประโยชน์เป็นคุณ ชื่อว่ามีสติเป็นอุปคัณหณลักขณาสติ
สมด้วยพระพุทธฎีกา สมเด็จพระบรมนายกโลกนาถศาสดาจารย์ประทานพระสัทธรรมเทศนา
ว่า สติ จ โข อหํ ภิกฺขเว สพฺพตฺถิกํ วทามิ พระพุทธฎีกาตรัสว่า ภิกฺขเว ดูรานะภิกษุทั้งหลาย
พระตถาคตนี้สรรเสริญว่า สติให้สำเร็จประโยชน์นำเสียซึ่งโทษ นี่แหละพระพุทธฎีกาโปรดไว้ฉะนี้
ขอถวายพระพร
ส่วนสมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร ได้ทรงพระนาคเสนพยากรณ์แก้ปัญหา จึง
ตรัสว่า พระผู้เป็นเจ้ากล่าวนี้สมควรแล้ว
สติลักขณปัญหา คำรบ 12 จบเท่านี้

สมาธิลักขณปัญหา ที่ 11


ราชา

สมเด็จพระเจ้ามิลินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
แต่พระนาคเสนผู้ประกอบด้วยปรีชา สมาธิมีลักษณะอย่างไร
พระนาคเสนวิสัชนาแก้ไขย่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร สมาธินี้มีลักษณะ
เป็นประธาน อันว่ากุศลธรรมบรรดามีนั้น สมาธิปมุขา มีพระสมาธิเป็นประธานเป็นหัวหน้า
สมาธินินนา มีพระสมาธิเป็นจอม สมาธิโปณา มีพระสมาธิเป็นเงื้อม สมาธิปพฺภารา มีพระ
สมาธิปกงำ ตกว่ากุศลธรรมทั้งปวงนี้ มีสมาธิเป็นปุเรจาริก ดังนี้ จึงว่าสมาธิมีลักษณะเป็นประ
ธาน พระราชสมภารพึงเข้าพระทัยด้วยประการฉะนี้
พระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสว่า นิมนต์พระผู้เป็นเจ้ากระทำ
อุปมาไปก่อน
พระนาคเสนถวายพระพรอุปมาว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร เปรียบดุจ
นิเวศเรือนมียอดอันงามยิ่ง ฝาและพรึง ชื่อเชิงกลอนและจั่วทั่วทัพพสัมภาระเครื่องเรือน
นั้นประชุมนักสิ้น เรียกว่าเรือนยอดนั้น ภูฏนินฺนา อาศัยมียอดเป็นจอม กูฏโปณา อาศัยมียอด
เป็นเงื้อม กูฏปพฺภารา อาศัยมียอดง้ำชะง่อนปกไป ยถา ฉันใด พระสมาธินี้เป็นประธานแก่กอง
กุศลทั้งปวงสิ้น กุศลธรรมทั้งสิ้นนั้น สมาธินินฺนา มีพระสมาธิเป็นยอดเป็นเงื้อมเป็นที่ปกงำดุจ
เรือนยอดนั้น ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์เป็นภูมินทราธิบดีมีพระราชาโองการตรัสว่า อาราธนาพระผู้เป็นเจ้า
กระทำอุปมาให้ภิยโยภาวะยิ่งขึ้นไปกว่านี้
พระนาคเสนมีเถรวาจาอุปมาอีกเล่าว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประ-
เสริฐในสมบัติมหาศาล เปรียบปานดุจบรมกษัตริย์อันมีที่เสด็จไปสู่ประเทศอันใดอันหนึ่ง
ด้วยพระบวรยศอันยิ่ง มีพยุหยาตราพร้อมด้วยจตุรงคเสนาทั้ง 4 คือ เสนาหัตถี เสนีอาชา เสนารถ
เสนีบทจรเดินลำลองปกป้องแห่แหนแสนสุรโยธา และเสนาจตุรงค์บรรดาที่ยกมานั้น ตํปมุขา
มีสมเด็จบรมกษัตราธิราชนั้นเป็นประธานสิ้น ตนฺนินฺนา มีพระมหากษัตราธิราชนั้นเป็นจอม
เป็นเงื้อมเป็นที่ปกงำ ยถา ฉันใด อันว่ากุศลธรรมทั้งหลาย ก็อาศัยพระสมาธิเป็นประธาน
เป็นจอมเป็นเงื้อมเป็นที่ปกงำ ดุจคนทั้งหลายอาศัยสมเด็จบรมกษัตริย์ฉะนั้น ขอถวายพระพร
สมด้วยวาระพระบาลีสมเด็จพระชินวรตรัสไว้ฉะนี้ สมาธิ ภิกขเว ภาเวถ สมาธิโก ภิกฺขุ ยถาภูตํ
ปชานาตีติ
แปลตามกระแสพระพุทธฎีกาว่า ภิกฺขเว ดูรานะภิกษุผู้กลัวภัยในวัฏสงสาร ตุมฺเห